“เนื้อหมูขึ้นราคา” ปรับขึ้นทั่วประเทศ แตะกิโลกรัมละ 86-88 บาท

“เนื้อหมูขึ้นราคา” ปรับขึ้นทั่วประเทศ แตะกิโลกรัมละ 86-88 บาท

ปรับขึ้นราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มขึ้นทุกภูมิภาค ความต้องการบริโภคยังคงสูงต่อเนื่อง สวนทางกับผลผลิตที่ออกตลาด

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติประกาศปรับขึ้นราคาเนื้อหมู / สุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มทั่วทุกภูมิภาคในวันนี้ (24 มีนาคม) เนื่องจากความต้องการบริโภคที่ยังคงสูงต่อเนื่อง ในขณะที่ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมีน้ำหนักลดลง โดยการปรับราคาขึ้นทั่วประเทศยกเว้นภาคเหนือมีรายละเอียดดังนี้

 

เนื้อหมูขึ้นราคา ปรับขึ้นทั่วประเทศ แตะกิโลกรัมละ 86-88 บาทเนื้อหมูขึ้นราคา ปรับขึ้นทั่วประเทศ แตะกิโลกรัมละ 86-88 บาท

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เรือนเพชรสุกี้ 56 ปีแห่งความอร่อย สูตรลับดั้งเดิมที่ยังคงคุณภาพ

เรือนเพชรสุกี้ 56 ปีแห่งความอร่อย สูตรลับดั้งเดิมที่ยังคงคุณภาพ

18 มีนาคม 2568
มะยงชิด หวานอมเปรี้ยวชื่นใจ แต่มีข้อเสียที่ต้องระวัง

มะยงชิด หวานอมเปรี้ยวชื่นใจ แต่มีข้อเสียที่ต้องระวัง

12 มีนาคม 2568
เนื้อหมูขึ้นราคา ปรับขึ้นทั่วประเทศ แตะกิโลกรัมละ 86-88 บาทเนื้อหมูขึ้นราคา ปรับขึ้นทั่วประเทศ แตะกิโลกรัมละ 86-88 บาท

หมูขึ้นราคา ราคาเนื้อหมูล่าสุด

ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก ปรับขึ้น 2 บาทต่อกิโลกรัม จาก 84-86 บาท เป็น 86-88 บาทต่อกิโลกรัม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับขึ้น 2 บาทต่อกิโลกรัม จาก 84 บาท เป็น 86 บาทต่อกิโลกรัม

ภาคเหนือ ปรับขึ้น 1 บาทต่อกิโลกรัม จาก 85 บาท เป็น 86-88 บาทต่อกิโลกรัม

ภาคใต้ ปรับขึ้น 2-4 บาทต่อกิโลกรัม จาก 84 บาท เป็น 86-88 บาทต่อกิโลกรัม

นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่าการปรับขึ้นราคาสุกรมีชีวิตในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาของเดือนมีนาคม 2568 เป็นผลจากภาวะขาดทุนสะสมของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรตลอดสองปีที่ผ่านมา (2566-2567) ซึ่งทำให้ฟาร์มขนาดเล็กต้องหยุดกิจการ ขณะที่ฟาร์มขนาดกลางต้องลดจำนวนแม่พันธุ์สุกรลง 40-50% เพื่อลดภาระขาดทุน

 

เนื้อหมูขึ้นราคา ปรับขึ้นทั่วประเทศ แตะกิโลกรัมละ 86-88 บาทเนื้อหมูขึ้นราคา ปรับขึ้นทั่วประเทศ แตะกิโลกรัมละ 86-88 บาท

 

ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2567 ราคาหมูเนื้อแดง เช่น สะโพกและหัวไหล่ อยู่ที่ประมาณ 109-119 บาทต่อกิโลกรัม ในห้างค้าปลีก ซึ่งสะท้อนถึงภาวะขาดทุนของเกษตรกรที่เฉลี่ยอยู่ที่ 500-700 บาทต่อตัว และในไตรมาสที่ 3 ปี 2566 เกษตรกรขาดทุนหนักที่สุดถึง 3,600 บาทต่อตัว หรือประมาณ 40% ของต้นทุน

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคาสุกรหน้าฟาร์มอยู่ในระดับที่เกษตรกรมีกำไรเพียง 13% ซึ่งถือเป็นราคาที่ยุติธรรมทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ทั้งนี้ สมาคมยืนยันว่าการปรับราคาขึ้นเป็นไปตามกลไกตลาด และผู้เลี้ยงสุกรยังคงให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการควบคุมระดับราคาไม่ให้สูงเกินไป เพื่อรักษาสมดุลของอุตสาหกรรมปศุสัตว์และความเป็นอยู่ของผู้บริโภค

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *